เทคนิคสัมภาษณ์งาน แนะนำตัวเอง อย่างไรให้ดูน่าสนใจตั้งแต่แรกเจอ

เทคนิคสัมภาษณ์งาน แนะนำตัวเอง อย่างไรให้ดูน่าสนใจตั้งแต่แรกเจอ

 กว่าจะได้งานทำแต่ละครั้ง พนักงานบริษัท หรือ “ว่าที่” พนักงานบริษัทที่เป็นน้อง ๆ จบใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องผ่านหลายขั้นตอนในการสมัครงาน ตั้งแต่การยื่นเรซูเม่ สอบวัดระดับต่าง ๆ ไปจนถึงด่านสุดท้ายซึ่งไปด่านชี้ชะตาว่าคุณจะได้ทำงานนี้หรือไม่ นั่นก็คือ “การสัมภาษณ์งาน” เพื่อ แนะนำตัวเอง ให้เป็นที่รู้จัก เพราะบริษัทจะได้รู้จักตัวคุณจริง ๆ ผ่านการพูดคุยและคำถามต่าง ๆ ได้ดูเรื่องบุคลิกภาพ ทักษะไหวพริบ และทัศนคติของคุณผ่านการพูดคุยระหว่างที่สัมภาษณ์

    ดังนั้นถ้าใครยื่นใบสมัครงาน ยื่นเรซูเม่ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การสัมภาษณ์งานครั้งนี้ของคุณผ่านฉลุย โดยคำถามที่ร้อยทั้งร้อยต้องเจอก็คือ “แนะนำตัวเอง ให้เราฟังหน่อย?” แล้วเราจะแนะนำตัวเองอย่างไรดีให้เตะตากรรมการตั้งแต่แรกเจอในห้องสัมภาษณ์งาน

 เริ่มที่ประวัติและความสนใจแบบรวบรัด

           แน่นอนว่าเราต้องแนะนำ ชื่อ-นามสกุล ของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก และตามมาด้วยการศึกษาว่าจบจากที่ไหนมา และมีความสนใจอะไรบ้าง โดยที่ความสนใจในที่นี้ให้เน้นไปที่เรื่องงานเป็นหลัก เช่น ชอบสังเกตพฤติกรรมคนการใช้ของของคนรอบตัว เลยอยากทำงานด้านการตลาดเพราะได้วิเคราะห์พฤติกรรมคนและหาทางวางแผนการตลาดให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ถ้าใครเป็นเด็กจบใหม่อาจจะเล่าเพิ่มเติมในส่วนของกิจกรรมที่เคยได้ทำมา ที่เกี่ยวข้องกับงานหรือตำแหน่งที่กำลังสมัครอยู่ ในช่วงมหาวิทยาลัย แต่ถ้าใครมีประสบการณ์ทำงานมาบ้างแล้ว ก็สามารถเล่าได้เลยว่าเราเคยทำงานอะไรมา มี achievement อะไรจากงานเก่ามาบ้าง โดยที่พยายามยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น เคยได้รับมอบหมายให้คิดแผนการตลาดใหม่ให้กับสินค้าเดิมที่ยอดขายตก โดยเจาะกลุ่มคนเจน Z และสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้ 20% เป็นต้น

 ไม่กลัวที่จะเล่าจุดอ่อนก่อนถูกถาม

           เชื่อแน่ว่า หลายบริษัทมักจะ challenge ผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยการถามถึงจุดอ่อนที่คุณมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรซูเม่ของคุณบอกจุดอ่อนนั้นไว้แล้ว เช่น มีช่วงระยะเวลาว่างงานเป็นหลักปี หรือมีประวัติย้ายงานบ่อย ทำงานได้ไม่นานก็ลาออก จุดอ่อนเหล่านี้คุณสามารถอธิบายสั้น ๆ หลังจากแนะนำตัวในช่วงแรกได้เลย เช่น ช่วงระหว่างงานแรกกับงานที่สอง ได้ใช้เวลาว่างงาน 1 ปีเพื่อไปลงเรียนภาษาที่ต่างประเทศ พร้อมกับค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือถ้าเป็นกรณีเปลี่ยนงานบ่อย ทำงานได้ไม่นานก็ออก อาจจะตอบว่าตัวเนื้องานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานน่าสนใจ คุณได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากงานนี้ แต่อาจจะไม่ตรงกับเป้าหมายหลักของคุณ

  เล่าทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังสมัคร

           คุณไม่จำเป็นต้องเล่าทักษะทุกอย่างที่คุณมีตั้งแต่ตอนแนะนำตัว ให้คัดเฉพาะส่วนที่เป็นไฮไลต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัครอยู่ก็พอ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้ว่าคุณก็มีดี และทักษะเหล่านี้จะเอามาช่วยงานในบริษัทได้อย่างไร ถ้าเขาเห็นแล้วว่าทักษะที่คุณมีตรงกับความต้องการของบริษัทอยู่พอดี ผู้สัมภาษณ์ก็จะจดจำคุณได้ดีขึ้น และคุณเองก็จะมีโอกาสได้งานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

  แสดงเป้าหมายและแพชชั่นของคุณให้ชัดเจนแต่แรก

           เล่าสั้น ๆ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการสัมภาษณ์งานว่าคุณมีแพชชั่นอะไรเป็นพิเศษ และวางเป้าหมายในชีวิตของคุณไว้อย่างไรบ้าง โดยที่พยายามพูดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานและบริษัทที่คุณกำลังสัมภาษณ์งานอยู่ เช่น จากงาน HR ที่ได้ทำมา คุณมีความเชื่อว่าการหาคนให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรทำ และตำแหน่ง HR ควรมีกลยุทธ์ที่จะดึงดูดคนที่ใช่ และคุณเองก็มีเป้าหมายที่อยากเป็นฟันเฟือนของบริษัทเพื่อที่จะหาคนที่ใช่ร่วมงานด้วย

           เพราะว่าในห้องสัมภาษณ์นอกจากบุคลิกและความมั่นใจที่สำคัญแล้ว การตอบคำถามอย่างชาญฉลาด และการแนะนำตัวที่ดี ไม่ยืดเยื้อ กระชับ เน้นในสาระที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่กำลังสมัคร เป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยสร้าง First impression ที่ดี จนทำให้คุณได้งานในฝันในที่สุด   เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เวลาสมัครงานเมื่อผ่านด่านเรซูเม่ไปแล้ว อีกขั้นตอนสำคัญที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะได้งานหรือไม่ก็คือการสัมภาษณ์งานนั่นเอง ส่วนใหญ่คนที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์อาจจะเป็นผู้บริหารหรือไม่ก็ HR ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับคนที่สัมภาษณ์เราเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บุคลิก 5 ประการ (Personality Traits) แบบไหนที่เมื่อไปสัมภาษณ์งานแล้วจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานให้มากกว่าเดิม

   บุคลิก 5 ประการ หรือ Personality Traits คือ บุคลิกภาพที่กำหนดจากคุณลักษณะที่เรามี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ บุคลิกภาพที่มาจากนิสัยต่าง ๆ ของเรา ซึ่งนักจิตวิทยาได้แบ่งออกเป็น 5 ประการ ได้แก่

1. Openness คือ ลักษณะนิสัยที่เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ มักจะสงสัยและสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายได้ เพราะมีระดับความเปิดกว้างสูง

2. Conscientiousness คือ ลักษณะนิสัยของคนที่มีระเบียบวินัยพึ่งพาได้ มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบสูง ชอบวางแผนและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

3. Extraversion คือ ลักษณะอารมณ์ดี เป็นมิตร ชอบพบปะผู้คน และสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมีพลัง เป็นลักษณะนิสัยของคนคิดบวก และมองโลกในแง่ดี

4. Agreeableness คือ ลักษณะนิสัยที่เข้าอกเข้าใจคนอื่น นึกถึงใจคนรอบข้าง มีจิตใจที่หวังดีต่อผู้อื่นและพร้อมให้ความช่วยเหลือที่ตัวเองสามารถช่วยได้ ชอบทำให้คนรอบข้างสบายใจ

5. Neuroticism คือ ลักษณะนิสัยแห่งการเตรียมพร้อม เพราะมักจะคิดถึงสิ่งที่ร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับวางแผนเตรียมรับมือไว้เป็นอย่างดี

           โดยลักษณะบุคลิกที่เหมาะกับการนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งานมากที่สุด 3 บุคลิกลักษณะก็คือ Openness, Conscientiousness และ Extraversion

Openness เป็นบุคลิกที่จะทำให้เราดูเป็นคนกล้ารู้ กล้าลอง และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการทำงานหรือวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทใหม่ที่เรากำลังสัมภาษณ์งานอยู่

Conscientiousness คือบุคลิกลักษณะของพนักงานที่ดีที่บริษัทส่วนใหญ่มองหา เพราะเป็นลักษณะของคนที่มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ พึ่งพาได้ ชอบวางแผน และมีความเป็นมืออาชีพ แน่นอนว่าคนที่มีนิสัยแบบนี้จะสามารถสร้างผลงานที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับบริษัทได้อย่างแน่นอน

Extroversion คือบุคลิกลักษณะที่จะเป็นอย่างมากต่อการสัมภาษณ์งาน เพราะการเป็นคนที่ดูเป็นมิตร มองโลกในแง่ มีพลังงานบวกในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น จะทำให้การสัมภาษณ์งานเป็นไปอย่างราบรื่นและสร้างความประทับใจให้กับตัวผู้สัมภาษณ์ได้ไม่ยาก

           สามารถนำ 3 บุคลิกลักษณะที่เหมาะกับการนำไปใช้สัมภาษณ์งาน ที่ทาง jobsDB รวบรวมมาให้ เพื่อให้การสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป เป็นการสัมภาษณ์งานที่สร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ จนได้งานในบริษัทที่คุณต้องการ เริ่มต้นหางานวันนี้ได้ที่แอปพลิเคชั่น jobsDB เพื่อโอกาสในการได้ตอบรับเข้าสัมภาษณ์งานที่ใช่ ในบริษัทชั้นนำมากมายได้ง่ายๆจากมือถือของคุณ

อยากได้งานต้องรู้! ทักษะตอบคำถามเฉพาะหน้าเมื่อสัมภาษณ์งาน

           การตอบคำถามสัมภาษณ์งานเป็นช่วงเวลาชี้ชะตาชีวิต เพราะถ้าตอบพลาด นอกจากจะทำให้ตื่นตระหนกจนสมา     หางานก็ว่าเหนื่อยแล้ว ตอนสัมภาษณ์งานนี่ทั้งเหนื่อยและลุ้นไปพร้อมๆ กัน เพราะถึงแม้จะเตรียมคำตอบสัมภาษณ์งานเอาไว้ล่วงหน้า แต่ในความเป็นจริงอาจจะต้องเจอกับคำถามที่ยากเกินความหมาย ในเมื่อเราไม่สามารถคาดเดาคำถามสัมภาษณ์ได้ทั้งหมด ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะการตอบคำถามเฉพาะหน้าที่จะช่วยเรียกความมั่นใจ  ตอบคำถามได้ตรงประเด็น และทำให้การสัมภาษณ์งานผ่านไปได้ด้วยดี  โดยปกติแล้วคำถามสัมภาษณ์งานจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ คำถามวัดความรู้ทักษะการทำงาน และคำถามที่บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้สมัครถาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดได้จากเรซูเม่และพอร์ตโฟลิโอ ผู้สัมภาษณ์อาจจะถามคำถามที่สร้างแรงกดดัน เพราะอยากรู้ว่าผู้สมัครจะมีไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างไร 

  • ทำใจให้สบาย

           เริ่มแรกเลยควรทำใจให้สบาย ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป เพราะสาเหตุสำคัญที่อาจทำให้ตอบคำถามได้ไม่ดี อาจมาจากความวิตกกังวล ควรมีสติตั้งแต่ก่อนสัมภาษณ์เมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์ก็ต้องมีสมาธิ สูดลมหายใจลึกๆ เรียกความมั่นให้ตัวเองด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใส วางตัวให้เป็นธรรมชาติ พูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล พยายามควบคุมอารมณ์ ไม่คิดฟุ้งซ่านหรือนอกประเด็นจากคำถาม เพราะนอกจากจะทำให้ตอบวกวนไปมา ยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย

  • ตั้งใจฟัง

           ควรทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอื่นที่จะเกี่ยวกับคำถามหรือไม่ก็ตาม ถ้ามีผู้สัมภาษณ์
หลายคนก็ตั้งใจฟังให้ครบทุกคน ระหว่างที่ฟังควรมองหน้าผู้พูดเพื่อเป็นการให้เกียรติ พร้อมๆ กับเก็บข้อมูล คิดวิเคราะห์เนื้อหาที่ฟังตามไปด้วย พยายามเก็บเกี่ยวช่วงเวลานี้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อเตรียมตอบคำถามต่อไป เมื่อถึงช่วงคำถามก็ฟังให้จบก่อนโดยไม่พูดแทรกผู้สัมภาษณ์

  • ถามซ้ำไม่ผิด

           ถ้าไม่แน่ใจคำถามให้ทวนคำถามอีกครั้ง การถามซ้ำไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ดีกว่าไม่เข้าใจคำถามจนตอบผิดประเด็น อีกทั้งยังเป็นการถ่วงเวลาช่วยให้มีเวลาคิดคำตอบอีกด้วย เพราะบางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจจะใช้คำอธิบายที่ไม่ชัดเจน  หรือมีศัพท์เฉพาะทางที่เข้าใจยาก เราสามารถขอให้อธิบายเพิ่มเติมได้ เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน

  • ตอบให้ตรงประเด็น

           จุดประสงค์ของการถามคำถามไม่ใช่แค่การวัดความรู้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถสะท้อนแนวคิดหรือทัศนคติของผู้สมัครงานได้ด้วย ควรตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจ ใช้คำพูดที่เหมาะสม ไม่รีบตอบเร็วจนเกินไป มีการหยุดหรือเว้นประโยคเพื่อให้มีเวลาคิด พยายามตอบให้ตรงประเด็นไม่ใช่พูดไปเรื่อยเปื่อย เทคนิคง่ายๆ คือการลำดับความคิดว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร (Who What When Where Why) ที่สำคัญต้องมีการหยิบยกเหตุผลมาประกอบเสมอ เพื่อให้คำตอบน่าเชื่อถือ ดูเป็นเหตุเป็นผล และโน้มน้าวใจให้ผู้สัมภาษณ์คล้อยตาม  ทักษะนี้สามารถฝึกฝนได้ด้วยการหมั่นซ้อมตอบคำถามบ่อยๆ หรือจับคู่กับเพื่อนเพื่อจำลองสถานการณ์สัมภาษณ์งานขึ้นมา

  • เป็นตัวของตัวเอง

           การเป็นตัวเองตัวเองช่วยสร้างเสน่ห์ให้กับตัวผู้สมัครให้โดดเด่นและสร้างความประทับใจกับผู้สัมภาษณ์ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของงานที่สมัครด้วย ลองนึกดูว่าแต่ละบริษัทต้องสัมภาษณ์ผู้สมัครด้วยคำถามคล้ายๆ กัน ทำอย่างไรเราถึงจะเป็นที่จดจำ แต่ก็ต้องเป็นตัวตนของเราจริงๆ และถูกกาละเทศะ เช่น คุณเป็นคนอามรณ์ดี ก็อาจตอบคำถามด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม สอดแทรกเรื่องราวที่เรียกเสียงหัวเราะได้ อาจช่วยให้บรรยากาศการสัมภาษณ์ผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้น ซึ่งการเป็นตัวของตัวเองไม่ได้มาจากการแสดงออกจากคำพูดอย่างเดียว ยังรวมไปถึงบุคลิกภาพ การแต่งหน้า แต่งตัว เป็นต้น

           แสดงออกให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงความเป็นผู้นำตลอดการสัมภาษณ์งาน  เพราะเป็นทักษะสำคัญที่
ใช้จริงในการทำงานแน่นอน ควรตอบคำถามด้วยความมุ่งมั่น ไม่แสดงออกให้เห็นว่าไม่แน่ใจ อาจบอกเล่าประสบการณ์ที่ตัวเองต้องใช้ความกล้าในการตัดสินใจ พยายามนำเสนอความเป็นผู้นำ ความรู้ที่มี และประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา อาจจะเล่าสรุปย่อในช่วงแนะนำตัว หรือใช้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับข้อดีของตัวเอง  ก็จะช่วยให้มีโอกาสได้งานมากขึ้น

           สำหรับใครที่กำลังหางานอยู่ ลองนำทักษะทั้งหมดนี้ไปปรับใช้ดู หมั่นฝึกฝนด้วยตัวเองบ่อยๆ จนเป็นธรรมชาติ สามารถตอบคำถามได้อย่างมั่นใจและน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามสิ่งที่บริษัทมองหาในตัวพนักงานนอกเหนือจากความรู้ความสามารถ ก็คือทัศนคติที่ตรงกับวัฒนธรรมของบริษัทนั้นๆ คำถามในการสัมภาษณ์ก็เป็นการวัดว่าคุณเหมาะสมที่จะร่วมงานกันหรือไม่นั่นเอง ที่สำคัญควรเปิดโอกาสให้ตัวเอง ลองสมัครงานหลายๆ เพื่อเป็นตัวเลือก

ธิเสีย ก็อาจหมดโอก…

ที่มา:  JOBsDB ประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *